เป็นการประท้วงต่อต้านรัฐบาล เกิดการลุกฮือของกบฏติดอาวุธที่แพร่กระจายไปทั่วตะวันออกกลางในปลายปี 2010 จุดเริ่มต้นมันมาจากระบอบกดขี่ และค่าครองชีพที่ต่ำจนเกินมาตฐาน การละเมิดสิทธิมนุษยชน การว่างงาน ความยากจน เงินเฟ้อ การทุจริตทางการเมือง โดยมีการเริ่มด้วยการประท้วงในตูนิเซีย สื่อสังคมออนไลน์กลายเป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติอย่างรวดเร็วทั่วโลก ในหลายประเทศรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของโซเชียลมีเดีย พวกเขาให้ความสำคัญในการจัดระเบียบ หรือ แม้แต่ปิดเว็บไซต์บางแห่ง หรือ ปิดกั้นบริการอินเทอร์เน็ตทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาก่อนการชุมนุมครั้งใหญ่
ผลของการปฏิวัติตูนิเซียแพร่กระจายอย่างรุนแรงไปยังอีกห้าประเทศ ได้แก่ ลิเบีย อียิปต์ เยเมน ซีเรียและบาห์เรน เมื่อใดที่ระบอบการปกครองล้มลง หรือ เกิดการลุกฮือครั้งใหญ่ และความรุนแรงทางสังคมเกิดขึ้นรวมถึงการจลาจลสงครามกลางเมือง การประท้วงเกิดขึ้นบนท้องถนนอย่างต่อเนื่องใน โมร็อกโก อิรัก แอลจีเรียอิหร่าน เลบานอน จอร์แดน คูเวต โอมานและซูดาน และเกิดการประท้วงเล็กๆใน จิบูตี มอริเตเนีย ปาเลสไตน์ ซาอุดีอาระเบีย และโมร็อกโกซาฮาราตะวันตก
การประท้วงคลื่นแรกเริ่มจางหายไปในช่วงกลางปี 2012 เนื่องจากมีการชุมนุมประท้วงในฤดูใบไม้ผลิจำนวนมากพร้อมกับการตอบสนองที่รุนแรงจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่นเดียวกับจากกลุ่มสนับสนุนรัฐบาล และกลุ่มทหารติดอาวุธ การต่อสู้แย่งชิงอำนาจยังคงดำเนินต่อไปหลังจากการตอบสนองที่มีต่ออาหรับสปริง ในขณะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้นำและระบอบปกครองทำให้โลกอาหรับเกิดสูญญากาศแห่งอำนาจ ส่งผลให้เกิดการต่อสู้ระหว่างการรวมอำนาจโดยชนชั้นทางศาสนา และเกิดการสนับสนุนประชาธิปไตยในรัฐมุสลิมส่วนใหญ่
ทำไมถึงใช้ชื่อว่าอาหรับสปริง
ได้ถูกนำมาใช้โดยสื่อตะวันตกในช่วงปี 2011 โดยใช้เป็นคำอธิบายความสำเร็จของการประท้วงในตูนิเซียกับอดีตผู้นำ Zine El Abidine Ben Ali จนทำให้เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่คล้ายกันในประเทศอาหรับส่วนใหญ่ คำว่า “อาหรับสปริง” หมายถึงการปฏิวัติในปี 1848 ซึ่งเป็นปีที่เกิดความวุ่นวายทางการเมืองในหลาย ประเทศทั่วยุโรป ส่งผลให้เกิดการโค่นล้มโครงสร้างกษัตริย์เก่า และแทนที่ด้วยรูปแบบการเป็นตัวแทนของรัฐบาลมากขึ้น ในบางประเทศเรียกว่า สปริงออฟเนชั่น (Spring of Nations) หรือ ปีแห่งการปฏิวัติ (Year of Revolution) ต่อมามันถูกนำมาใช้เป็นความหมายแฝงในช่วงเวลาอื่นๆ ในประวัติศาสตร์
เป้าหมายของการประท้วง
ขบวนการประท้วงในปี 2011 เป็นแกนหลักของการแสดงออกถึงความไม่พอใจในการปกครองแบบเผด็จการอาหรับ การใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่อย่างไม่สมควร อัตราการว่างงานสูงขึ้น เกิดการทุจริตขึ้นทุกหนแห่ง เป้าหมายของผู้ประท้วงในจอร์แดน และโมร็อกโกต้องการที่จะปฏิรูประบบภายใต้การปกครองในปัจจุบัน บางกลุ่มเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐธรรมนูญทันที ส่วนบางคนพอใจกับการปฏิรูปอย่างค่อยเป็นค่อยไป