ชนวนเหตุความขัดแย้งระหว่างอาหรับกับอิสราเอล

      Comments Off on ชนวนเหตุความขัดแย้งระหว่างอาหรับกับอิสราเอล

ถ้าใครเคยติดตามข่าวการสู้รบกันในภูมิประเทศตะวันออกกลางจะต้องเคยได้ยินข่าวความขัดแย้งระหว่างอาหรับกับอิสราเอลมาเป็นระยะเวลาช้านาน จนอาจจะกลายมาเป็นสาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 อีกด้วย โดยมีจุดเริ่มต้นของการสู้รบมาจากที่ทางสหประชาชาติได้มีการสนับสนุนการจัดตั้ง “รัฐอิสราเอล” ขึ้นในปี 1948 พร้อมทั้งให้มีการแบ่งเขตระหว่าง “รัฐอิสราเอล” และ “รัฐปาเลสไตน์” ในครั้งนั้นจึงเป็นตัวจุดชนวนเหตุให้กลุ่มประเทศอาหรับไม่พอใจต่างพากันลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่ยุติธรรมที่กลุ่มประเทศตนเองได้ถูกกระทำ หลังจากนั้นก็ได้มีการสู้รบกันต่อมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

 

ครั้งแรก – ปี 1948

จากที่ UN ได้กำหนดเส้นพรมแดน (UN Partition Plan) ขึ้นได้มีการรวมพื้นที่บางส่วนของกรุงเยรูซาเล็มและดินแดนฉนวนกาซาเข้าไปด้วย ส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ต้องพบเจอกับสภาพที่อดยาก แม้จะได้รับความช่วยเหลือจากทาง UNRWA แล้วก็ตาม ด้วยสาเหตุนี้กลุ่มประเทศอาหรับ คือ อิยิปต์ ซีเรีย จอร์แดน เลบานอน และ อิรัก จึงได้ยกทัพมุ่งเข้าสู่อิสราเอลในทุกทิศทาง แต่ในครั้งนั้นอิสราเอลมีการเตรียมพร้อมที่ดีจึงได้รับชัยชนะส่งผลให้ได้พื้นที่เพิ่มมากขึ้นกว่าที่ทาง UN ประกาศไว้

 ครั้งสอง – ปี 1956

การสู้รบในครั้งนี้เกิดจากวิกฤตคลองสุเอซ โดยที่ผู้นำอียิปต์ในขณะนั้นได้กระทำการโอนคลองสุเอซเข้ามาเป็นของตน และไม่ยอมให้อิสราเอลได้ใช้คลองสุเอซเพื่อเป็นทางผ่านมุ่งไปสู่ทะเลแดง จึงเป็นมูลเหตุให้อิสราเอลทำการบุกโจมตีอิยิปต์และยึดฉนวนกาซาภายใต้การสนับสนุนของอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ในครั้งนั้นชาวโลกต่างประณามการกระทำของอังกฤษและฝรั่งเศสที่มุ่งเน้นแต่ผลประโยชน์ของตนเอง จนทำให้อิสราเอลต้องถอยทัพกลับไปในที่สุด ส่งผลให้อียิปต์กลายเป็นผู้ชนะในสงครามย่อมหมายถึงชัยชนะของชาวอาหรับด้วยเช่นกัน

ครั้งสาม – ปี 1967

สงครามครั้งนี้ถูกเรียกว่าสงคราม 6 วัน จุดแตกหักเริ่มมาจากที่อิยิปต์ประกาศปิดอ่าว “อากาบะฮุ” ซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่อิสราเอลจะมุ่งสู่ทะเลแดง อิสราเอลจึงทำการบุกเข้าไปยึดพื้นที่ทั้งของอียิปต์ , ซีเรีย , จอร์แดน และยังตามไปยึดที่ราบสูงโกลันของซีเรีย โดยใช้เวลาเพียงแค่ 6 วันภายใต้การสนับสนุนของประเทศอเมริกา ทำให้ชาวอาหรับต้องใช้วิธีแบบกองโจรคือจี้เครื่องบินที่มีชาวยิวโดยสาร และทำให้ดินแดนในตะออกกลางเข้าสู่สภาพ “ไม่มีสงคราม – ไม่มีสันติภาพ”

หลังจากนั้นความขัดแย้งก็ยังคงมีต่อมาเรื่อยๆไม่จบง่ายๆ เพราะชาวอาหรับยังคงมองว่ากลุ่มประเทศของตนเองถูกกระทำอย่างไร้ยางอายต่อการยึดดินแดนปาเลสไตน์ จนกลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการรบแบบพลีชีพ และกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอย่างไม่มีจุดสิ้นสุด จนกว่าจะแตกหักสูญสิ้นกันไปข้างหนึ่ง